เรื่องล่าสุด

10 ลักษณะที่ทำให้ระบบการศึกษาของญี่ปุ่นดังกระฉ่อนไปทั่วโลก

ชาวญี่ปุ่นเป็นที่ยกย่องในเรื่องของความฉลาด สุขภาพแข็งแรง และความสุภาพอ่อนน้อม แต่สิ่งที่ทำให้ชาวญี่ปุ่นโดดเด่นไม่เหมือนใคร กลับเป็นระบบการศึกษาของญี่ปุ่นค่ะ เรามาดูกันนะคะว่าระบบการศึกษาที่โด่งดังของญี่ปุ่นเป็นอย่างไร

 

อบรมนิสัยก่อนเน้นวิชาการ

131

นักเรียนที่เรียนในประเทศญี่ปุ่นนั้น จะไม่ต้องทำการสอบจนระดับประถม 4 (ประมาณ 10 ขวบ) เพราะชาวญี่ปุ่นเชื่อว่า นักเรียนไม่ควรถูกสอบวัดความรู้ในช่วง3 ปีแรกที่เข้าเรียน แต่ควรได้รับการอบรมมารยาท และพัฒนาการ เด็กๆ จะถูกอบรมให้เคารพผู้อื่น และอ่อนโยนแก่สัตว์ และกลมกลืนกับธรรมชาติ และถูกสอนให้รู้จักความเอื้อเฟื้อ เมตตากรุณา และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ในขณะเดียวกันก็ได้ฝึกความเพียร ความอดทน และความยุติธรรมด้วย

 

โรงเรียนเปิดเทอมในวันที่ 1 เมษายนของทุกปี

132

ในขณะที่โรงเรียนทั่วโลกเปิดเทอมในเดือนกันยายน หรือ ตุลาคม แต่ญี่ปุ่นกลับเลือกที่จะเปิดเทอมในวันที่ 1 เมษายน ซึ่งวันเปิดเทอมมักจะเป็นวันที่สวยงามวันหนึ่งของปี เพราะเป็นฤดูที่ซากุระผลิดอก โดยระบบการศึกษาในญี่ปุ่นแบ่งเป็น 3 ภาคการศึกษา วันที 1 เมษายน – วันที่ 20 กรกฎาคม, วันที่ 1 กันยายน – วันที่ 26 ธันวาคม และ วันที่ 7 มกราคม – วันที่ 25 มีนาคม โดยจะมีวันหยุดภาคฤดูร้อนนาน 6 สัปดาห์ และปิดเทอมช่วงฤดูหนาว และฤดูใบไม้ผลินานครั้งละ 2 สัปดาห์ค่ะ

 

โรงเรียนส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องจ้างภารโรง เพราะนักเรียนจะช่วยกันทำความสะอาดโรงเรียน

133

นักเรียนในญี่ปุ่นต้องทำความสะอาดห้องเรียน โรงอาหาร และห้องน้ำกันเอง โดยนักเรียนจะแบ่งความรับผิดชอบกันเป็นกลุ่มๆ และผลัดเวรกันตลอดปี เพราะระบบการศึกษาของญี่ปุ่นเชื่อว่าการทำความสะอาดหลังเลิกเรียนจะสอนให้นักเรียนรู้จักการทำงานเป็นทีม และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นอกจากนี้การที่เขาลงมือทำงานพื้นฐานอย่างกวาดพื้น ถูห้อง หรือปัดกวาดนั้น จะทำให้พวกเขารู้จักเคารพงานของเขาและงานของผู้อื่นอีกด้วย

 

นักเรียนจะรับประทานอาหารกลางวันที่โรงเรียนจัดให้ และรับประทานกันในห้องเรียน

134

ระบบการศึกษาในญี่ปุ่นให้ความใส่ใจว่านักเรียนจะได้รับอาหารที่ถูกหลักอนามัย และเหมาะสม โดยโรงเรียนในระดับประถมศึกษา และมัธยมต้นของรัฐบาล จะมีการปรุงอาหารกลางวันตามเมนูอาหารที่รัฐบาลกำหนดไว้ และคิดโดยเชฟที่มีคุณสมบัติเหมาะสม และผู้ชำนาญการด้านสุขภาพ โดยทั้งนักเรียนและครูจะรับประทานอาหารกลางวันร่วมกันในห้องเรียน เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์อันดีระหว่างศิษย์-อาจารย์ค่ะ

 

มีการติวหลังเลิกเรียน

135

เพื่อที่จะเข้าโรงเรียนมัธยมปลายที่ต้องการ เด็กนักเรียนญี่ปุ่นมักจะไปกวดวิชา หรือ ทำเวิร์คชอปหลังเลิกเรียน โดยจะเรียนกันในตอนเย็น จึงเป็นเรื่องปกติที่จะเห็นเด็กๆ เลิกเรียนพิเศษในช่วงเย็น ปกติแล้ว จะใช้เวลาเรียนในข่วงปกติ 8 ชั่วโมง แต่ส่วนใหญ่จะเรียนเพิ่มในช่วงเย็น หรือวันหยุด ดังนั้นนักเรียนส่วนใหญ่จะผ่านเลื่อนชั้นกัน มีส่วนน้อยมากๆ ที่จะซ้ำชั้นในระดับประถมศึกษา หรือมัธยมต้น

 

นักเรียนจะได้รับการเรียนโครงกลอน และคัดลายมือด้วยพู่กัน

136

การคัดลายมือด้วยพู่กัน หรือที่เรียกว่า “ชูโด” คือการใช้พู่กันที่ทำจากไม้ไผ่ จุ่มในหมึก และคัดลายมือลงบนกระดาษที่ทำจากข้าว สำหรับชาวญี่ปุ่น ชูโดคือศิลปะที่ได้รับความนิยมไม่น้อยกว่าการวาดภาพโบราณ หรือที่เรียกว่า “ไฮกุ”  ซึ่งเป็นการเขียนกลอนแบบหนึ่ง โดยใช้สัญลักษณ์ในการถ่ายทอดความหมายลึกซึ่งแก่ผู้อ่าน ซึ่งศิลปะทั้งสองแขนงจะสอนให้นักเรียนเคารพในประวัติศาสตร์อันยาวนานของชาวญี่ปุ่น

 

นักเรียนส่วนใหญ่ต้องใส่เครื่องแบบ

137

นักเรียนมัธยมต้นส่วนใหญ่ต้องสวมใส่เครื่องแบบ ในขณะที่บางโรงเรียนมีเครื่องแบบที่ออกแบบเอง โรงเรียนญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะให้นักเรียนชายสวมเครื่องแบบคล้ายทหาร และนักเรียนหญิงจะสวมเครื่องแบบกะลาสีเรือ เพื่อที่จะลดความเหลื่อมล้ำในเรื่องฐานะทางสังคม และเตรียมพร้อมให้นักเรียนรู้จักเวลาเป็นการเป็นงาน นอกจากนี้ การสวมเครื่องแบบยังทำให้เด็กนักเรียนรู้สึกผูกพันกับชุมชนอีกด้วย

 

เด็ก 99.99% จะเข้าเรียน

138

เชื่อว่าเราหลายคนคงจะเคยเหลวไหลกันบ้าง อย่างน้อยก็ครั้งหนึ่งในชีวิต แต่นักเรียนชาวญี่ปุ่นมักจะไม่โดดเรียนหรือมาสาย นอกจากนี้ ประมาณ 91% ของนักเรียนยังยืนยันว่าไม่เคยละเลยการเรียนการสอนเลยด้วย

 

มีการสอบวัดผลระดับประเทศ

199

เมื่อนักเรียนจบการศึกษาระดับมัธยมปลาย นักเรียนจะต้องสอบวัดผลระดับประเทศเพื่อเข้ามหาวิทยาลัย โดยนักเรียนจะต้องเลือกมหาลัยที่ต้องการ และต้องทำคะแนนมากกว่าที่มหาวิทยาลัยนั้นๆ กำหนดไว้ ซึ่งการแข่งขันนั้นมีความกดดันสูง ประมาณ 76% เท่านั้นที่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ ดังนั้นในช่วงเวลาเตรียมสอบวัดผลระดับประเทศ จึงได้ถูกเรียกว่า “การสอบนรก” นั่นเอง

 

ชีวิตในมหาวิทยาลัยเปรียบเสมือนช่วงเวลาพักผ่อน

1310

หลังจากผ่านช่วงเวลาการสอบนรกมาได้ นักเรียนส่วนใหญ่จะพักเบรคไม่นาน เพราะสำหรับชาวญี่ปุ่นแล้ว ช่วงเวลาการเรียนในมหาวิทยาลัยถือเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในชีวิต บางครั้งชาวญี่ปุ่นก็เปรียบแวลาในมหาวิทยาลัยเสมือน ”ช่วงพักผ่อน” ก่อนจะออกไปทำงานนั่นเอง

แหล่งที่มา:Brightside.me